ศาลสั่งกลับไปจัดทำรายงาน EHIA เขื่อนแม่วงก์ให้สมบูรณ์

วันที่ 28 มี.ค.ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา ในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ร่วมกับประชาชนเครือข่ายคัดค้านสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ รวม 151 คน ฟ้องนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี อธิบดีกรมชลประทาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรณีดำเนินการโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ

เขื่อนจีนระบายน้ำเพิ่ม สทนช.เตือนจังหวัดริมโขงเฝ้าระวัง

แผ่นดินไหวอำเภอปาย ไม่กระทบเขื่อนกรมชลฯ

โดยศาลพิพากษาให้อธิบดีกรมชลประทาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน และการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในโครงการเขื่อนแม่วงก์ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญให้ครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 

ทั้งนี้ศาลให้เหตุผลว่า โครงการเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ เป็นโครงการต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (รายงาน EHIA) ตามรัฐธรรมนูญ และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553

การที่ คณะรัฐมนตรีจะมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้เกิดโครงการเขื่อนแม่วงก์ได้ก็ต่อเมื่อโครงการดังกล่าวได้มีการจัดทำรายงาน EHIA และคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) เห็นชอบกับรายงานดังกล่าว พร้อมจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถานอุดมศึกษาที่จัดการด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินโครงการดังกล่าว  เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุด กรมชลประทานได้มีหนังสือ ลงวันที่ 3 ต.ค.2560 ขอถอนรายงาน EHIA ออกจากการพิจารณาของ คชก. เพื่อที่จะดำเนินการตามมติของ คชก. ที่เห็นควรให้กรมชลประทานปรับปรุงแก้ไขและเสนอข้อมูลเพิ่มเติมในรายงาน EHIA จึงเป็นกรณีที่ คชก. ยังไม่เห็นชอบกับรายงาน EHIA โครงการเขื่อนแม่วงก์ และยังไม่มีผลการพิจารณาของ คชก. จึงถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ 2550 ในส่วนของการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนและการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ในส่วนของการดำเนินการให้องค์การอิสระให้ความเห็นประกอบ ปัจจุบันไม่มีองค์การอิสระที่จะทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบก่อนแต่อย่างใด

2024-03-28T12:09:08Z dg43tfdfdgfd