6 วันสงกรานต์ตาย 243 เจ็บ 1,837 คน -เมาขับแล้วขับนำโด่ง 5,589 คดี

สถิติอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ 6 วัน เกิดอุบัติเหตุ 1,811 ครั้ง บาดเจ็บ 1,837 คน ผู้เสียชีวิต 243 คน เมาแล้วขับยังคงครองแชมป์

 

วันนี้ (17 เม.ย. 67) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 16 เมษายน 2567 เกิดอุบัติเหตุ 242 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 237 คน ผู้เสียชีวิต 32 ราย

สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 6 วันของการรณรงค์ (11 – 16 เม.ย. 67) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,811 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 1,837 คน ผู้เสียชีวิต รวม 243 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 9 จังหวัด

โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ แพร่ (13 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ แพร่ (18 คน) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ขอนแก่นและสุรินทร์ (จังหวัดละ 3 ราย)

สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 6 วันของการรณรงค์ (11 – 16 เม.ย. 67) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,811 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 1,837 คน ผู้เสียชีวิต รวม 243 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 9 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย (71 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ แพร่ (68 คน) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย (15 ราย)

นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยถึง สถิติคดีที่ศาลสั่งคุมความประพฤติ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,654 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถในขณะเมาสุรา 1,616 คดี และคดีขับเสพ 38 คดี สำหรับยอดรวมสะสม 6 วัน ที่มีการควบคุมเข้มตั้งแต่วันที่ 11-16 เม.ย.2567 มียอดสะสม จำนวน 5,786 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 5,589 คดี คิดเป็นร้อยละ 96.6 คดีขับรถประมาท 3 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.05 และคดีขับเสพ 194 คดี คิดเป็นร้อยละ 3.35 หากเปรียบเทียบสถิติคดีเข้าสู่คุมประพฤติ พ.ศ. 2566 กับ พ.ศ. 2567

ยอดสะสม 6 วัน (11-16 เม.ย.2567) พบว่า คดีขับรถขณะเมาสุรา ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 6,705 คดี และ ปี พ.ศ. 2567 มีจำนวน 5,589 คดี ลดลง 1,116 คดี คิดเป็นร้อยละ 16.64 จังหวัดที่มีสถิติคดีเมาแล้วขับสะสมสูงสุด 3 อันดับได้แก่ กรุงเทพมหานคร 493 คดี สมุทรปราการ 313 คดี และ เชียงใหม่ 302 คดี

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ร้อยละ 37.60 ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 23.97 ตัดหน้ากระชั้นชิด ร้อยละ 21.07 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 84.90

จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ แพร่ (13 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ แพร่  (18 คน) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ขอนแก่นและสุรินทร์ (จังหวัดละ 3 ราย)

อ่านข่าวต้นฉบับ:

อมรินทร์ทีวี ทันข่าวได้ที่

เว็บไซต์:www.amarintv.com

เรื่องธุรกิจที่ :ติดตาม SPOTLIGHT มองขาดทุกโอกาสธุรกิจ

2024-04-17T04:40:04Z dg43tfdfdgfd