BIOTHAI แฉ! ปลาหมอคางดำไม่ได้ตายหลังนำเข้า ยังเลี้ยงในฟาร์มจนระบาด

วันที่ 26 ก.ค.2567 นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ เลขาธิการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) และอดีตคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับชาติ (NBC)  ได้ร่วมเสวนาเรื่อง  “หายนะสิ่งแวดล้อม กรณีปลาหมอคางดำ: การชดเชยเยียวยาความเสียหาย ฟื้นฟูระบบนิเวศและปฏิรูประบบความปลอดภัยทางชีวภาพ”

โดยนายวิฑูรย์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ประชาชนต่างล้วนเชื่อสิ่งที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ให้ข้อมูลว่าปลา 2,000 ตัวตายทั้งหมดและถูกฝังกลบไว้ที่ฟาร์มยี่สารแล้ว แต่มีหลักฐานอื่นที่ชี้ชัดว่าการระบาดของปลาหมอคางดำอยู่ที่ฟาร์มนั้นอยู่แล้ว

BIOTHAI ชี้หลักฐานชัดปลาหมอคางดำหลุดจากใคร! นำเข้าเจ้าเดียว-เริ่มระบาดใกล้ฟาร์ม

อาจารย์แม่โจ้ เสนอใช้ “ไซยาไนด์” ยาแรงปราบ “ปลาหมอคางดำ”

ทั้งนี้การระบาดเริ่มต้นที่คลองดอนจั่น คลองหลวง คลองเจ๊ก คลองสมบูรณ์ คลองสะพานหัน คลองตามน และคลองผีหลอก ในเขตตำบลยี่สาร และตำบลแพรกหนามแดง จ.สมุทรสงคราม ซึ่งบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเป็นผู้นำเข้าปลาหมอคางดำเพียงรายเดียว ซึ่งในรายงานของกรมประมงพบว่า การระบาดมีแหล่งที่มาร่วมกัน และไม่ได้มาจากการนำเข้าหลายครั้ง

 “เราได้ข้อมูลมาว่า ปลาไม่ได้ตายเหมือนที่เป็นข่าว ฟาร์มที่เลี้ยงเป็นบ่อดิน และเพาะพันธุ์ต่อมาอีกหลายรุ่น โดยเอาไข่ไปฟักทุก 7 วัน ปลาหมอคางดำอยู่ในฟาร์มยี่สารมาโดยตลอด แม้ระบบน้ำในฟาร์มจะเป็นระบบปิด แต่ก็มีการสูบน้ำทิ้งออกนอกฟาร์ม ทำให้ปลาหลุดไปในคลองธรรมชาติ” นายวิฑูรย์ กล่าวและว่า การจัดการกับการระบาดของปลาหมอคางดำ จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้ ตราบใดที่ไม่หาผู้รับผิดชอบ

ทั้งนี้นายวิฑูรย์ ยังได้เปิดเผยข้อมูลที่ชี้ชัดตามที่กล่าวอ้างข้างต้น คือ 1.บริษัทเอกชนดังกล่าวเป็นบริษัทเอกชนรายเดียวที่นำเข้าปลาหมอคางดำเมื่อปี 2553 จากใบขออนุญาตทั้งหมด 448 รายการ (อนุญาต 381 รายการ / ไม่อนุญาต 60 / ชะลอนำเข้า 7 )

2. รายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ระบุชัดเจนว่า บริษัทเอกชนดังกล่าวละเมิดระเบียบความปลอดภัยทางชีวภาพ

3. เอกสารรายงานของ กรมประมง ระบุชัดเจนว่า การระบาดของปลาหมอคางดำ เริ่มต้นจาก คลองดอนจั่น คลองหลวง คลองเจ๊ก คลองสมบูรณ์ คลองสะพานหัน คลองตามน และคลองผีหลอก ในเขต ต.ยี่สาร และ ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

4.  รายงานการศึกษาการวิเคราะห์เส้นทางการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำในเขตพื้นที่ชายฝั่งของไทย จากโครงสร้างพันธุกรรมของประชากร โดยพบว่าการระบาดมีแหล่งที่มาร่วมกัน ไม่ได้นำเข้ามาหลายครั้ง

และ 5.ข้อมูลภายในจากอดีตเจ้าหน้าที่ในฟาร์มยี่สาร ซึ่งเริ่มทำงานครั้งแรกก่อน บริษัทเอกชนดังกล่าวนำเข้าปลาหมอคางดำ (เมื่อปี 2553) และทำงานอยู่ที่ฟาร์มแห่งนี้เกือบ 10 ปี อดีตเจ้าหน้าที่ท่านนี้ตอบคำถามไบโอไทยว่า "ไม่ต้องไปขุดหาปลาหมอคางดำหรอก เพราะปลาที่นำที่มาได้ตายแบบที่เป็นข่าว" ปลาหมอคางดำขนาดเท่าใบมะขามถูกเลี้ยงจนกลายเป็นพ่อแม่พันธุ์ เพาะพันธุ์ต่อมาอีกหลายรุ่น โดยเคาะไข่นำไปพักทุกๆ 7 วัน เลี้ยงมาต่อเนื่องจนเนื่อง จนเมื่อออกจากงานก็มีคนมารับงานต่อ ฟาร์มแห่งนี้นอกจากเลี้ยงปลาหมอคางดำ และปลาไฮบริด (ปลาหมอคางดำXปลานิล) แล้ว ยังเลี้ยงปลาแปลกๆ เช่น ปลาหยก จาระเม็ดครีบสั้นด้วย

ระบบน้ำในฟาร์มจะทำระบบปิด คือ โซนน้ำดีและน้ำเสีย ในฟาร์มจะเป็นระบบปิดคือ น้ำเสียจะวนไปบำบัดใน บ่อใหญ่แล้วเวียนกลับมาใช้ใหม่ ถ้าน้ำในระบบหายไปเยอะจะดึงน้ำจากคลองธรรมชาติเข้าไปเติม ปลาใน

ระบบมันหลุดอยู่ในบ่อบำบัด ในคลองส่งน้ำต่างๆ นานๆ เข้า จะมีการเคลียร์บ่อเก็บน้ำบ่อบำบัดน้ำ ก็ต้องสูบน้ำทิ้งออกนอกฟาร์ม เพื่อเคลียร์ปลาในบ่อ ในคลองส่งน้ำ ในฟาร์ม ตรงนี้แหละที่ปลาจะหลุดไปในคลอง

ธรรมชาติ

ทั้งนี้นายวิฑูรย์ ยังบอกอีกว่า สิ่งที่จะทำหลังจากนี้คือ เราจะมีปฏิบัติการของประชาชนตอบโต้ การเปิดเผยความจริง และปฏิรูประบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการรับรองสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม เพื่อใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตร พ.ศ. 2567 เป็นประกาศที่อันตราย และอาจส่งผลทำให้มีการนำพืช ปลา หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงยิ่งกว่าปลาหมอคางดำที่ระบาดในขณะนี้ เพราะไม่กำหนดให้มีการรับผิดชอบใดๆ เลย นอกเหนือจากนี้ยังได้เตรียมการสนับสนุนการฟ้องร้องคดี ทั้งในส่วนของสภาทนายความที่จะมีการแถลงข่าวในเร็วๆนี้ และการฟ้องร้องในดคีเกี่ยวกับการปกครองและการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐด้วย

2024-07-26T09:59:40Z dg43tfdfdgfd